สภาพทั่วไปของตำบลหัวฝาย
1.1 ความเป็นมา
ชื่อตำบลหัวฝาย แต่เดิมเกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านที่ได้สร้างทำนบกั้นน้ำซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่าการลงหลักตีฝาย และบริเวณริมฝั่งลำน้ำที่กั้นฝายได้มีชาวบ้านไปอาศัยอยู่ พวกที่อาศัยอยู่ทางท้ายน้ำจึงเรียกผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณต้นฝายว่าหัวฝาย ต่อมายกระดับเป็นตำบล เมื่อปี พ.ศ.2436 และในปี พ.ศ. 2460 ตำบลหัวฝายขึ้นกับอำเภอแม่พวก ภายหลังเปลี่ยนชื่ออำเภอแม่พวกเป็นอำเภอสูงเม่น หรือสูงเม่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2466 จนถึงปัจจุบัน ลักษณะทางภูมิศาสตร์/ลักษณะภูมิประเทศตำบลหัวฝายแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้พื้นที่ราบ – ส่วนใหญ่เป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่นา,พื้นที่เชิงเขา – อยู่บริเวณหมู่ที่ 4 บ้านทุ่งเจริญ และพื้นที่ภูเขา เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นตำบลที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอสูงเม่น ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ประมาณ 1 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดประมาณ 15 กิโลเมตร มีเส้นทางติดต่อกับอำเภอสูงเม่น จำนวน 2 เส้นทาง มีพื้นที่ทั้งหมด 65.98 ตร.กม. หรือประมาณ 41,241.25 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้แก่
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลสูงเม่น, ตำบลดอนมูล, ตำบลบ้านเหล่า, อำเภอสูงเม่น
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น, อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น
ฤดูกาล ลักษณะภูมิอากาศของตำบลหัวฝาย จัดอยู่ในลักษณะแบบฝนเมืองร้อน เฉพาะฤดูฝนหรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Tropical Savanna) บริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตร่องอากาศเขตร้อน (Intertropical Convergence Zone) ปริมาณและการกระจายของฝนจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ประเภท คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก และลมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่นำเอาอากาศหนาวและแห้งแล้ง จากประเทศจีนมาปกคลุมทั่วบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะภูมิอากาศของตำบลดอนมูล แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล
ฤดูหนาว เริ่มในเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์
ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม
1.2 ข้อมูลการปกครอง/ประชากร
(1) การปกครองตำบลหัวฝาย แบ่งเขตการปกครองออกเป็น13 หมู่บ้านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 84 แห่งประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่งรายละเอียดตามตาราง
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนเขตการปกครอง
อำเภอ |
จำนวน | ||||||
ตำบล |
หมู่บ้าน |
ชุมชน |
อบจ. |
ทม. |
ทต. |
อบต |
|
สูงเม่น | หัวฝาย | 10 | – | – | – | – |
1 |
ที่มา : ที่ทำการปกครองจังหวัดแพร่ (ข้อมูลณวันที่ 31 เดือนพฤษภาคม 2559)
(2) ข้อมูลประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย มีประชากรทั้งสิ้น 9,996 คน แยก เป็น – ชาย 4,902 คน – หญิง 5,094 คน
มีความหนาแน่นเฉลี่ย 163 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร
มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,479 ครัวเรือน แยก เป็นดังนี้
หมู่ที่ / ชื่อบ้าน |
ครัวเรือน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
1 ช่องลม |
369 |
480 |
534 |
1,014 |
2 ช่องลม |
230 |
279 |
309 |
588 |
3 หัวฝาย |
276 |
327 |
331 |
658 |
4 ทุ่งเจริญ |
297 |
482 |
426 |
908 |
5 เหล่าป่าผึ้ง |
249 |
301 |
338 |
639 |
6 เหล่าป่าผึ้ง |
322 |
418 |
407 |
825 |
7 ดอนชัย |
337 |
452 |
521 |
973 |
8 ช่องลม |
288 |
391 |
418 |
809 |
9 เหล่าเจริญ |
137 |
209 |
20 |
417 |
10 หัวฝาย |
249 |
374 |
416 |
790 |
11 เหล่าป่าผึ้ง |
274 |
428 |
431 |
859 |
12 เหล่าป่าผึ้ง |
312 |
421 |
473 |
894 |
13 ช่องลม |
180 |
269 |
295 |
564 |
รวม |
3,520 |
4,831 |
5,107 |
9,938 |
หมายเหตุ ข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง (อ.สูงเม่น) ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2558
1.3 ข้อมูลเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพมากกว่าหนึ่งอาชีพ อาชีพหลัก คือ การเกษตรกรรม ได้แก่การปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และประมง พืชที่นิยมปลูก คือ ข้าว, ถั่วเหลือง ,มะขามหวาน ,ลำไย , และพืชผักต่างๆ ส่วนการเลี้ยงสัตว์และการประมงส่วนใหญ่เลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือนและเป็นอาชีพเสริม ได้แก่ หมู , วัว, ไก่พันธุ์พื้นเมืองและปลา โดยประกอบอาชีพ ดังนี้
– เกษตรกรรม ร้อยละ 68 – รับราชการ ร้อยละ 2
– รับจ้าง ร้อยละ 27 – ค้าขาย ร้อยละ 3